บริษัท เอ็ม บี เค การันตี จำกัด ตระหนักดีว่าการทุจริตคอร์รัปชันส่งผลร้ายและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและสร้างความไม่เป็นธรรมในทางธุรกิจ ส่งผลเสียทั้งด้านจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ และไม่เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและ ต่างประเทศ รวมทั้งทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ขาดความเชื่อมั่น ต่อองค์กรและยังถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอีกด้วย บริษัทฯ จึงถือเป็นหลักการที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่สนับสนุนกิจการ กลุ่มบุคคล หรือบุคคลที่มีส่วนร่วมกับการแสวงหาผลประโยชน์อันไม่พึงได้รับ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ

มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันนี้เป็นแนวทางให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับตระหนักถึง การปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึกในการยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ โดยปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยจรรโลงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกื้อหนุนต่อ การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
2.1 บริษัท หมายถึง บริษัท เอ็ม บี เค การันตี จำกัด
2.2 การทุจริตคอร์รัปชัน หมายถึง การกระทำใดๆ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วย กฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ การยักยอก การฉ้อโกง การเรียกร้อง หรือรับ การเสนอให้ การให้คำมั่น สัญญา การมอบให้ การสนับสนุน ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดกับบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชนทั้งทางตรง และทางอ้อม เพื่อให้กระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือมีผลต่อ การตัดสินใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ไม่เหมาะสม หรือขัดต่อ กฎหมาย กฎระเบียบ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรม และจรรยาบรรณของบริษัทฯ
2.3 การช่วยเหลือทางการเมือง หมายถึง การช่วยเหลือในนามบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน หรือ รูปแบบอื่น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง การช่วยเหลือ ด้านการเงินสามารถรวมถึงการให้กู้เงิน ส่วนการช่วยเหลือ ในรูปแบบอื่น (In-kind) เช่น การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณา ส่งเสริมหรือสนับสนุนพรรคการเมือง การซื้อบัตรเข้าชมงานที่จัดเพื่อ ระดมทุนหรือบริจาคให้แก่องค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พรรคการเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการสนับสนุนกระบวนการ ทางประชาธิปไตยที่กระทำได้ตามที่กฎหมายกำหนด
2.4 สินบน หมายถึง ทรัพย์สินที่มีมูลค่าหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคล/กลุ่มใด กลุ่มหนึ่งเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นกระทำหรือละเว้นการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อ ตนเอง หรือต่อธุรกิจของบริษัทฯ
2.5 ของขวัญ ของกำนัล หมายถึง สิ่งของมีค่าทั้งที่เป็นวัตถุ สินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นการให้หรือ รับโดยตรง หรือให้มีการซื้อขายในราคาพิเศษ รวมทั้งการ ออกค่าใช้จ่ายในการรับบริการ เช่น การเดินทาง ที่พัก เป็นต้น
2.6 การบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุน หมายถึง การให้หรือรับเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือเงิน สนับสนุนไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน
2.7 การบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ หมายถึง การใช้จ่ายเงินเพื่อโครงการ กิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สังคม กลุ่มประชาชน โดยบริษัทฯ อาจไม่ได้รับผลตอบ แทนที่มีตัวตน
2.8 ค่าอำนวยความสะดวก หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการและเป็น การให้เพียงเพื่อให้มั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการตาม กระบวนการ หรือเป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น โดยกระบวนการนั้นไม่ต้องอาศัยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐและเป็น การกระทำอันชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น รวมทั้งเป็น สิทธิที่นิติบุคคลพึงจะได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว เช่น การขอใบอนุญาต การขอหนังสือรับรองและการได้รับการบริการสาธารณะ เป็นต้น
2.9 การขัดแย้งทางผลประโยชน์ หมายถึง สถานการณ์ที่ กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัท เกิดความ ขัดแย้งขึ้นระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ทาง วิชาชีพอันส่งผลให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ อย่างเป็นกลางหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้เกิด ความไม่ไว้วางใจที่มีต่อบุคคลผู้นั้นว่า จะสามารถปฏิบัติงานตาม ตำแหน่งให้อยู่ในครรลองของคุณธรรมจริยธรรมได้มากน้อยเพียงใด
2.10 ตัวแทนทางธุรกิจ หมายถึง นิติบุคคลอื่น หรือ บุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่พนักงานของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้ว่าจ้างหรือตกลงให้ทำธุรกรรมหรือติดต่อกับ บุคคลภายนอกในนามของบริษัทฯ
2.11 คู่ค้า หมายถึง บุคคลที่มีธุรกรรมกับบริษัทฯ เพื่อสนับสนุน หรือส่งเสริมให้เกิด ธุรกิจของบริษัทฯ
2.12 หน่วยงานภาครัฐ หมายถึง
  • กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ (เช่น กรมสรรพากร กรมที่ดิน ราชการส่วนท้องถิ่น ฯลฯ )
  • พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือผู้สมัคร รับเลือกตั้ง ข้าราชการทางการเมือง (ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน) ผู้บริหารท้องถิ่น
  • หน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแล (เช่น คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ)
  • รัฐวิสาหกิจ หรือ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือ องค์กรอื่นๆ ที่รัฐ หรือ หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจควบคุม
2.13 เจ้าหน้าที่รัฐ หมายถึง

บุคคลดังต่อไปนี้

  • ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือน ประจำ
  • พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงาน ของรัฐ
  • ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง
  • เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
  • กรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐและบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือ ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการ ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้ง ขึ้นในระบบราชการรัฐวิสาหกิจ หรือ กิจการอื่นของรัฐ
มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันนี้ใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย / บริษัทร่วมที่มีอำนาจควบคุม

เพื่อให้มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของกลุ่มบริษัท มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน จึงให้กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องไว้ดังนี้

4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • 4.1.1

    คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ดังนี้

    • กำหนดและอนุมัตินโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
    • อนุมัติและทบทวนแนวทางปฏิบัติสำหรับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
    • กำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ
  • 4.1.2

    คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ดังนี้

    • สอบทานให้กลุ่มบริษัท มีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ
    • สอบทานให้มีการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 4.1.3

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีหน้าที่ดังนี้

    • ส่งเสริม สนับสนุนและควบคุมดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีการปฏิบัติ ตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและระเบียบปฏิบัติ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
    • ทบทวนความเหมาะสมของระบบงานและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง ธุรกิจข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
  • 4.1.4

    ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป มีหน้าที่ดังนี้

    • ควบคุมและกำกับให้มีการนำมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันไปปฏิบัติได้จริง สามารถระบุ ความเสี่ยง การตรวจสอบและบริหารจัดการให้มีมาตรการที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหาได้ อย่างเหมาะสม รวดเร็วและทันเวลา
    • สนับสนุนการพัฒนากระบวนการ รวมทั้งบุคลากรเพื่อให้มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ขององค์กรบรรลุผล
  • 4.1.5

    พนักงาน มีหน้าที่ดังนี้

    • ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงมาตรการอื่นๆ (ถ้ามี) และ เข้าร่วมการฝึกอบรมตามที่กลุ่มบริษัทกำหนด
    • แจ้งเบาะแสทันทีเมื่อพบเห็น หรือสงสัยว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชัน ให้ความร่วมมือในการสอบสวน ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับข้อสงสัยในการกระทำการทุจริตคอร์รัปชัน
    • พนักงานต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมและจะต้อง ปฏิบัติตามมาตรการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานของกลุ่มบริษัท อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพนักงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานที่มีกระบวนการหลักซึ่งมีความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น งานจัดซื้อจัดจ้าง สินเชื่อ งานด้านการขาย การพนักงาน งานสนับสนุนและงานด้านการลงทุน
  • 4.1.6

    สายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ดังนี้

    • ตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย มาตรการ ระเบียบ ปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและเพียงพอ ต่อความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้น
    • ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
    • รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
  • 4.1.7

    ฝ่ายกำกับดูแลกิจการ มีหน้าที่ดังนี้

    • ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
    • กำกับการปฏิบัติงานด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
    • ประสานงานกับฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  • 4.1.8

    ฝ่ายบริหารกลยุทธ์และระบบงาน มีหน้าที่ดังนี้

    • พัฒนาเครื่องมือการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและจัดให้หน่วยงานภายในองค์กร ประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน
    • ประสานงาน ให้คำปรึกษาและรวบรวมข้อมูลการประเมินความเสี่ยง มาตรการ วิธีการจัดการ และแนวทางควบคุมความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอต่อ คณะกรรมการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (MBK CAC และ CAC บริษัทในเครือ) และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (MBK RMC และ RMC บริษัทในเครือ) พิจารณา
    • สอบทานข้อมูลผลการดำเนินงานความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและจัดให้มีการทบทวน ความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  • 4.1.9

    ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลและฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่ดังนี้

    • บริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของกลุ่มบริษัท โดยการกำหนดเป็นข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบทลงโทษ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องและครอบคลุม
    • จัดให้มีกระบวนการสรรหา คัดเลือก ว่าจ้าง แต่งตั้งพนักงานด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม
    • ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการปฏิบัติในแนวทางต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยการสื่อสาร ฝึกอบรม ให้ความรู้ และจัดทำแบบทดสอบประเมินผลความเข้าใจ เพื่อก่อให้เกิดความตระหนัก และหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจเข้าข่ายทุจริตคอร์รัปชัน
  • 4.1.10

    ฝ่ายบัญชีและงบประมาณและฝ่ายการเงิน มีหน้าที่ดังนี้

    • ปฏิบัติตามนโยบายของกลุ่มบริษัท กฎหมายและหลักการทางบัญชีและการรายงานทางการเงิน
    • รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับ-จ่ายเงิน บันทึกบัญชีและเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับรายการบัญชีรับจ่ายและภาษี โดยจะต้องมีเอกสารแนบครบถ้วนและได้รับการอนุมัติอย่างถูกต้อง
    • ดำเนินขั้นตอนการปฏิบัติงานทางการเงินและบัญชีให้สอดคล้องกับหลักมาตรฐานการบัญชีที่ได้รับรอง ทั่วไป
    • ดำเนินการควบคุมการเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติงานการเบิกค่าใช้จ่าย คู่มือ อนุมัติค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานและสอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  • 4.1.11

    ฝ่ายสื่อสารองค์กร มีหน้าที่ดังนี้

    • สื่อสาร เผยแพร่ นโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้าง จิตสำนึกในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน
    • ให้มีการสื่อสารต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอรัปชันของกลุ่มบริษัท

4.2 แนวทางดำเนินการ

  • 4.2.1

    ระบบการควบคุมภายใน

    กลุ่มบริษัท ได้มีการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงาน ซึ่งมีการจัดแบ่งภาระหน้าที่ตามโครงสร้างการบังคับ บัญชาและมีการอนุมัติดำเนินการอย่างมีขั้นตอน โดยกระบวนการปฏิบัติงานจะมีระบบควบคุมภายใน กระบวนการสอบทานและการควบคุมให้สอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและได้รับ การตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งพนักงานทุกคนต้องดำเนินงานตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานและข้อกำหนดของกลุ่มบริษัท

  • 4.2.1

    แนวทางปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

    กลุ่มบริษัท ได้กำหนดขั้นตอนและแนวทางป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชันตามรูปแบบ การทุจริตคอร์รัปชันหลักๆ ดังนี้

    • 4.2.2.1

      การให้และการรับสินบน

      • 4.2.2.1.1
        ห้ามกรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ให้หรือรับสินบนในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อตอบแทนการให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจและห้ามมอบหมายให้ผู้อื่นให้หรือ รับสินบนแทนตนเอง
      • 4.2.2.1.2
        ห้ามเป็นตัวกลางในการเสนอให้หรือรับสินบนใดๆ กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนิน ธุรกิจของกลุ่มบริษัท
    • 4.2.2.2

      การให้หรือรับของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง หรือผลประโยชน์อื่น

      การให้หรือรับของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง หรือผลประโยชน์อื่น กับลูกค้า คู่ค้า ตัวแทน ทางธุรกิจ ให้ปฏิบัติตามระเบียบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ หรือรับของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง หรือผลประโยชน์อื่นของกลุ่มบริษัท ซึ่งสอดคล้องตามหลักการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งการให้หรือรับของขวัญ ต้องมีความสมเหตุสมผลและสามารถ ตรวจสอบได้

    • 4.2.2.3

      การช่วยเหลือทางการเมือง

      ไม่ช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนทางการเมืองแก่พรรคการเมือง กลุ่มการเมืองหรือนักการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงไม่ให้ใช้ทรัพย์สินใดๆ ของกลุ่มบริษัทเพื่อดำเนินการดังกล่าว

    • 4.2.2.4

      การบริจาคเพื่อการกุศล การสาธารณประโยชน์และการให้เงินสนับสนุน

      • 4.2.2.4.1
        การให้หรือรับเงินบริจาค หรือทรัพย์สินบริจาคเพื่อการกุศล การสาธารณประโยชน์ หรือเงินสนับสนุนต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ขัดต่อศีลธรรม โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือทรัพย์สินบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุน ไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน
      • 4.2.2.4.2
        การเบิกค่าใช้จ่ายเพื่อการกุศลและการให้เงินสนับสนุน ให้ปฏิบัติตามระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงานการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารของกลุ่มบริษัทและคู่มือ อำนาจอนุมัติ ค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานที่กลุ่มบริษัท กำหนด ทั้งนี้ การเบิกจ่าย ต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและมีหลักฐานที่ตรวจสอบได้
      • 4.2.2.4.3
        ในกรณีที่มีข้อสงสัยที่อาจส่งผลกระทบทางกฎหมาย ให้ขอคำปรึกษาจาก ฝ่ายกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร หรือในเรื่องที่มีความสำคัญอื่นๆ ให้อยู่ใน ดุลยพินิจของฝ่ายจัดการ
    • 4.2.2.5

      การขัดแย้งทางผลประโยชน์

      • 4.2.2.5.1

        กรรมการและผู้บริหารของบริษัท

        • คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ต้องจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของ ตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด พร้อมจัดส่ง รายงานดังกล่าวให้กับเลขานุการบริษัท เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการติดตาม ดูแลการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในการ บริหารจัดการกิจการของกลุ่มบริษัท
        • กรณีการทำธุรกรรมใดเป็นรายการเกี่ยวโยงหรือรายการขัดแย้งทางผลประโยชน์ ผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้เสีย เช่น คณะกรรมการ ผู้บริหาร ท่านนั้น จะงดออกเสียง และงดแสดงความเห็นในที่ประชุมและปฏิบัติตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยกำหนด
      • 4.2.2.5.2

        กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มบริษัท

        • ห้ามใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเอง โดยตรง หรือช่วยเหลือญาติสนิทมิตรสหาย
        • ห้ามแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ จากการปฏิบัติหน้าที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งหมายรวมถึงห้ามแลกเปลี่ยนผลประโยชน์โดยใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน
        • ห้ามนำข้อมูลอันเป็นความลับของบริษัทไปใช้ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว

4.3 แนวทางการแจ้งเบาะแส / ข้อร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชัน

  • 4.3.1
    พนักงานต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นหรือทราบว่ามีการปฏิบัติงานที่ขัดแย้งต่อระเบียบคำสั่ง ของกลุ่มบริษัท หรือเห็นการกระทำที่เข้าข่ายหรือเพียงแต่สงสัยว่าเป็นการกระทำที่ทุจริตคอร์รัปชัน ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท พนักงานต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถาม สามารถขอคำปรึกษาผู้บังคับบัญชา หรือสอบถามจากฝ่ายกำกับ ดูแลกิจการ
  • 4.3.2

    ผู้ที่พบเห็น หรือสงสัยว่าจะมีการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชัน หรือได้รับผลกระทบอันเนื่องจาก การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน สามารถแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนโดยช่องทางใดทางหนึ่ง ของกลุ่มบริษัท ดังนี้

    • 4.3.2.1

      ทาง E-mail

      คณะกรรมการตรวจสอบ: ac@mbkgroup.co.th

      ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร: ceo-mbkgroup@mbkgroup.co.th

      ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายตรวจสอบภายใน: ia@mbkgroup.co.th

    • 4.3.2.2
      บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)
      444 อาคารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชั้น 8 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  • 4.3.3
    พนักงานพึงต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบและให้ข้อเท็จจริงต่างๆ ต่อกรณีพบเห็นการกระทำ ที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชัน
  • 4.3.4
    กลุ่มบริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่แจ้งเบาะแส หรือปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชัน ตามที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายการแจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียน

4.4 ข้อแนะนำเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

หากกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติของตนเองว่าถูกต้องตามนโยบายต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่ ขอให้มีการพิจารณาก่อนการปฏิบัติหรือตัดสินใจเรื่องนั้นๆ ดังนี้

  • 4.4.1
    เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือกฎระเบียบของทางราชการและของกลุ่มบริษัทหรือไม่
  • 4.4.2
    สังคมยอมรับการกระทำนั้นหรือไม่ สามารถเปิดเผยต่อสังคมได้หรือไม่
  • 4.4.3
    เป็นการกระทำที่ขัดต่อจริยธรรม และอาจจะนำความเสื่อมเสียมาให้กับผู้กระทำหรือผู้อื่น หรือต่อ ชื่อเสียงของกลุ่มบริษัทในขณะนั้นหรือในอนาคตหรือไม่

หากไม่แน่ใจควรเสนอข้อมูลหรือข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นต่อผู้บังคับบัญชา หรือสอบถามฝ่ายกำกับดูแลกิจการ เพื่อจะได้ร่วมกันพิจารณาหลักเกณฑ์ แนวทางและปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป

4.5 การบันทึกข้อมูลทางธุรกิจและการเก็บรักษาเอกสาร

การบันทึกข้อมูลทางธุรกิจ การเงิน การบัญชีและการเก็บบันทึกข้อมูล ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน และมีการดำเนินการตามขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบของกลุ่มบริษัทที่กำหนดไว้ และยึดตามหลัก มาตรฐานทางการบัญชีของกลุ่มบริษัท รวมทั้งการจัดทำรายงานทางการเงินและกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และให้มีการจัดเก็บรักษาเอกสารดังกล่าวไว้ในที่ ปลอดภัยตามระเบียบการจัดเก็บเอกสารที่กลุ่มบริษัทกำหนด

กลุ่มบริษัท มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับของกลุ่มบริษัท มีจิตสำนึก การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริตและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม และทำการสื่อสารเผยแพร่นโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันฉบับนี้ต่อกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ทุกระดับและต่อสาธารณชน รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเพื่อยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจัง

ดังนั้น การละเว้นไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการกระทำที่ผิดวินัยตามระเบียบของกลุ่มบริษัท ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัย การไม่รับรู้กับมาตรการนี้ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามได้ และในกรณีที่การทุจริตคอร์รัปชันส่งผลให้มีความผิดตามกฎหมาย กลุ่มบริษัทมีสิทธิที่จะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำผิดนั้น