สาระสำคัญของการขายฝาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491-502
สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้รับซื้อฝาก นับแต่วันที่จดทะเบียนขายฝาก โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาขายฝาก
สัญญาขายฝากจะต้องกำหนดระยะเวลาว่าจะไถ่คืนกันเมื่อใด
การขยายกำหนดเวลาไถ่ ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์จะทำสัญญาขยายเวลาไถ่กี่ครั้งก็ได้ แต่รวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 10 ปี (ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ไม่เกิน 3 ปี) นับแต่วันทำสัญญาขายฝากและจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับซื้อฝาก และสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่จากการขายฝากจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ผลของการใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งขายฝากจะตกเป็นของผู้ขายฝากตั้งแต่เวลาที่ผู้ขายฝากชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้นผู้ไถ่ย่อมได้รับคืนโดยปลอดจากสิทธิใดๆ
รายการค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดิน
ขายฝาก | การจดทะเบียนขายฝาก | การไถ่ทรัพย์ |
---|---|---|
ค่าธรรมเนียม | 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน | 50 บาท/แปลง |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | บุคคลธรรมดา: อ้างอิงจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล: 1% |
1% รับผิดชอบโดย MBKG |
ค่าอากรแสตมป์ | 0.50% (ได้รับยกเว้นกรณีที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว) | 0.50% |
ภาษีธุรกิจเฉพาะ | 3.30% | - |